จิตวิทยาเป็น การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร
อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา “
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
"การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา “
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
"การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's
Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ
กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ
อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
ประดินันท์ อุปรมัย (2540, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15, หน้า121) การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์
โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน” เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน
แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา
เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก
จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน
จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร ต่อไป
เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น
เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์
ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
-พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา
หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
-พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
-พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
-พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้
“จิตวิทยา”เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต
โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา
ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันนี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป
ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร
อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
- ทำให้ครูทราบทฤษฎี
หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
- ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
- ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535)
วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral
science)
2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา
๑. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะในงานราชการ การทำหน้าที่จำหน้าและชื่อคนในบังคับบัญชาและลูกค้า การปกครองให้คนร่วมมือกลมเกลียว วิธีสอบสัมภาษณ์เลือกคนเข้าทำงานและการใช้คนให้เหมาะสมกับชนิดของงาน วิธีเอาใจลูกค้าด้วยประการต่าง ๆ ฯลฯ
๒. มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา จิตวิทยาวิเคราะห์ให้ทราบว่า การเล่นคืออะไร และบอกให้ทราบว่าเด็กคนไหนมีความเจริญทางจิตแค่ไหน ควรเล่นอะไร จึงจะได้ประโยชน์ การให้กำลังใจในการเล่นกีฬาเป็นส่วนที่ช่วยให้คนเล่นกีฬาชนะเท่า
ๆ กับกำลังกาย ความรู้ในทางจิตวิทยาจะทำให้ครูพละศึกษาและหัวหน้าชุดกีฬาประเภทต่าง
ๆ สามารถปลุกกำลังใจของผู้เล่นได้ถนัดมือขึ้น จิตวิทยาของคนดูกีฬา ดูละคร หรือฟังปาฐกถา ก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่นกีฬา ผู้แสดงละคร หรือแสดงปาฐกถาควรรู้ไว้
๓. จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น ตามหลักจิตวิทยามีสิ่งสำคัญอยู่ ๓
ประการในเรื่องการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะกับสังคม (ก) ความรู้ในเรื่องมรรยาทและเรื่องจารีตประเพณี (ข) ความรู้สำหรับทำตัวให้สนใจผู้อื่น (ค) นิสัยที่จะคอยตรวจพิจารณา และตีความพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผู้อื่น เพื่อให้ทราบว่าเขามีท่าทีความรู้สึก (ATTITUDE) และอารมณ์อย่างไร
๔. การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา เพราะกำลังใจของคนไข้เป็นส่วนที่แพทย์และนางพยาบาลต้องนึกถึงไม่น้อยว่าการรักษาพยาบาลด้วยยา ทั้งแพทย์และนางพยาบาลต้องมีอัตลักษณ์ (CHARACTER) ที่อดทนต่อการจู้จี้ของคนไข้ได้โดยไม่ให้มีเรื่องสะเทือนจิตใจของตัวเอง และต้องมีกุศโลบายร้อยแปดเพื่อเอาใจคนไข้โดยมิให้เสียถึงหลักการรักษาพยาบาล
๕. จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน การสืบพยานเป็นเรื่องของจิตวิทยาเท่า ๆ กับเป็นปัญหาทางกฎหมาย ศาลห้ามทนายความไม่ให้ถามนำ เพราะพยานมักจะรับการเสนอแนะจนทำให้ความจำเลอะเลือน และไม่สามารถให้การได้ตามที่พยานรู้เห็นจริง ๆ บางคนเอาสิ่งที่ตัวเห็นจริง ๆ
ปนกับสิ่งที่ตัวนึกว่าเห็นโดยไม่มีเจตนาจะพูดเท็จ เด็ก ๆ มักเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ศาลจึงไม่ถือว่าคำให้การ
จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน
ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา
การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล
นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา
เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้
ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ
เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
โดยทั่วไปแล้ว
เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
๑.
ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน
นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา
บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน
เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
๒.
ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ
เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้ เพราะ จะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ
โดยเฉพาะวัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็น
วัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
๓.
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ
แล้ว
นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา
ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน
และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
๔.
ทฤษฎีการเรียนรู้
นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้
นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว
ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ
ผู้เรียน เช่น
แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร
ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
๕.
ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน
ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน
สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
๖.
หลักการสอนและวิธีสอน
นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ
เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม
และมานุษยนิยม
๗.
หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า
การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง
ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
๘.
การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู
วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
๑. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย
(Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
๒. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
๓. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
๔. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
๕. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง
ๆ
๖. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
๗. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
๘. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
๙. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี
ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น