แนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จะมุ่งเน้นในการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย ให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านธุรกิจ ด้านการศึกษาและวิจัย ด้านความบันเทิง รวมถึงด้านความมั่นคง โดยอาศัยเทคโนโลยีทางการสื่อสารเป็นพื้น ฐานสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ให้เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลไร้พรมแดน หรือ Ubiquitous Information Society ที่ข้อมูลและข่าวสารได้รับการเชื่อมโยงและเข้าถึงอย่างไร้ข้อจำกัด
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1. ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคลมวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย
2. เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเลือกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย
3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการ เอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
พัฒนาการของเทคโนโลยีและการเรียนการสอน
วงการต่างๆรวมถึงวงการศึกษาล้วนได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้ในการปรับการดำเนินงานให้ทันสมัยสมกับยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนปัจจุบันจึงเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบและเทคนิคระดับสูงในการผลิตและใช้งาน เทคโนโลยีที่พัฒนาและเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานทั้งในปัจจุบันและนับเนื่องถึงอนาคตอันใกล้จะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อใช้ในวงการต่างๆ สำหรับพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้ในวงการศึกษาและการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึง ได้แก่
- การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน
- ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา
- พัฒนาการของอีเลิร์นนิ่ง : Learning Object
- Grid Computing
- ความเป็นจริงเสมือน
- การรู้จำคำพูดและการสื่อสาร
การบรรจบกันของเทคโนโลยีและสื่อการสอน
การบรรจบกันของเทคโนโลยี (technological convergence)เป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีให้เป็นเทคโนโลยีรูปแบบเดียวที่สามารถใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ในหนึ่งเดียว ตัวอย่างเช่น
-โทรศัพท์เซลลูลาร์เพียงเครื่องเดียว สามารถใช้ทั้งการติดต่อสื่อสารทั้งเสียง ข้อความ และภาพ มีนาฬิกาบอกเวลา จับเวลา ตั้งปลุก มีสมุดนัดหมาย
- คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือที่นอกจากใช้ในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแล้ว ยังใช้ในการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ค้นคว้าหาข้อมูล
- อุปกรณ์สื่อสารไร้สายขนาดเล็กที่เป็นทั้งโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ขนาดเล็กลักษณะPDA
- ปากกาที่นอกจากใช้เขียนแล้วยังสามารถบันทึกเสียง เล่นMP3 และเก็บบันทึกข้อมูลได้ในด้ามเดียว
การบรรจบกันของเทคโนโลยีในเรื่องของสื่อการสอนจะช่วยเอื้อประโยชน์ในสถาบันการศึกษาและการเรียนการสอนได้อย่างมากในเรื่องของการจัดหาทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดหางบประมาณเพื่อซื้อวัสดุอุปกรณ์มากมายหลายอย่างเพื่อใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้
ศักยภาพของการสื่อสารในสถาบันการศึกษา
การสื่อสารบรอดแบนด์
“บรอดแบนด์” (broadband) เป็นการเพิ่มสมรรถนะการสื่อสารในการส่งและรับข้อมูลสารสนเทศที่มีปริมาณมาก เช่น ภาพยนตร์ การประชุมทางไกล ๚ ให้ส่งผ่านได้โดยไม่มีการติดขัดในการรับส่งสัญญาซึ่งส่งได้ตั้งแต่ 1.544-55 เมกะบิตต่อวินาที
แนวโน้มในอนาคตของสถาบันการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการวางแผนในการใช้การสื่อสารบรอดแบนด์มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ในการเรียนการสอนไม่จำกัดเฉพาะเพียงข้อความตัวอักขระและภาพนิ่งเหมือนแต่เดิมอีกต่อไป แต่จะมีการถ่ายทอดความรู้และสื่อสารข้อมูลด้วยการเชื่อมต่อทั้งแบบเครือข่ายเฉพะที่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรอบโลก
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
สารสนเทศ กับการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือWBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning)
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ
ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ
Virtual Library Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือน ได้ ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ
นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต
นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า 1 ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-9หรือ 0.000000001วินาที 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000เมตร หรือ 0.000000001 เมตร
นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ 1 ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้
เทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสารแบบใหม่ (ICT) จะยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อินเตอร์เนตจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปฏิวัติวิธีที่จะสื่อสารความรู้ ผ่านอีเมลล์ สื่อสังคมออนไลน์ ทำให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ สื่อสารได้ในอาณาบริเวณที่กว้างขึ้น วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเผยแพร่ได้ในทุกมุมของโลก จนทำให้ความรู้กลายเป็นทรัพยากรที่เคลื่อนที่ได้ผ่านระบบอินเตอร์เนต และไม่ได้ติดอยู่กับสถานศึกษาและท้องถิ่นอีกต่อไป ทำให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาทำงาน ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้ กิจกรรม ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในประเด็นเฉพาะต่างๆ มากยิ่งขึ้น ความเข้มข้นของเนื้อหาสาระแต่ละประเด็นจะถูกตีความจากความร่วมมือของเครือข่าย และก่อให้เกิดสถาบันในท้องถิ่นต่างๆ ที่จะทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้น
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. เทคโนโลยีTechnology หมายถึงการนำเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อให้สิ่งต่างๆมีประโยชน์ในทางการปฏิบัติและการอุตสาหกรรม เช่น ซิป (Chip) ถูกสร้างมาจากทรายหรือซิลิกอน ผ่านกรรมวิธีพิเศษจนเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology หมายถึง เทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลสารสนเทศทำให้สารสนเทศนั้นมีประโยชน์และสามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
ประโยชน์ของผู้มีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT
1. ใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวกและคุ้มค่า
2. ทันกับสภาพสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถคาดการแนวโน้มการใช้ในอนาคตได้
3. สามารถเลือกซื้อ หรือเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เหมาะสมกับงานและความต้องการของตน
4. รู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ
5. มีความรู้กว้างขวางหลายสาขา มีความรู้รอบตัวมากขึ้น
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1. ด้านการติดต่อสื่อสาร มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไม่มีอุปสรรค ดังคำที่ว่า "โลกไร้พรหมแดน"
2. ด้านการศึกษา นักเรียนนักศึกษาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเรียนอยู่ที่บ้านไม่ต้องมาโรงเรียนใช้วิธีการเรียนทางไกลโดยเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. ด้านการดำเนินชีวิต มนุษย์มีความสุขสะบายมากขึ้นการทำงานหากมีความเสี่ยงสูงก็ใช้หุ่นยนต์ทำหน้าที่แทน การดูแลรักษาความปลอดภัยก็ใช้โปรแกรมคอดตรวจสอบให้ทั้งหมดได้
4. ด้านสุขภาพ วงการแพทย์รักษาโรคได้มากขึ้น มีระบบแพทย์ออนไลน์คอยดูแลรักษาทางอินเตอร์เน็ตได้โดยร่วมกันรักษาโรคทั่วโลกได้
5. ด้านการท่องเที่ยวและความบันเทิง สามารถผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทุกรูปแบบ เช่น การจอดตั๋ว การตรวจสอบสถานที่ การสอบถามข้อมูล การดูหนังฟังเพลง ตลอดจนการซื้อของไม่ต้องไปเดินซื้อตามห้างสรรพสินค้า
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ
1.ผลกระทบต่อการศึกษา การนำเทคโนโลยีหรือสื่อการเรียนมาใช้มากเกินไปจะเกิดปัญหาที่ชัดเจน คือ
- ครู กับ นักเรียนขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิด ทำให้ความสำคัญของโรงเรียนและครูน้อยลง
- นักเรียนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเรียนโดยใช้สื่อเหล่านี้ได้ ทำให้เกิดการเสียโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมที่แตกต่างกัน
2. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาผลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมนุษย์นำเทคโนโลยี
ไปใช้ในทางที่ผิด เพราะมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนต้นเท่านั้น
3. ผลกระทบต่อสังคม
- เกิดปัญหาว่างงานเพราะเมื่อใช้เทคโนโลยีแล้วแรงงานก็ใช้น้อยลงทำให้เกิดภาวะว่างงาน
- การปรับตัวที่ไม่ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยี คนที่อายุน้อยพัฒนาตนเองได้ดีขณะที่คนอายุมากพัฒนาตนเองได้น้อยและไม่ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยี
- สังคมจะเป็นแบบต่างคน ต่างอยู่ การดำเนินชีวิตจะไม่มีความสัมพันธ์กันมากนักเพราะทุกชีวิตต้องรีบเร่ง ดิ้นรน
4. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
- มนุษย์จับจ่ายใช้สอยได้ง่ายขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตไม่ต้องพกเงินสด ทำให้อัตราการเป็นหนี้สูงขึ้น
- การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากขึ้น หวังผลกำไรมากขึ้น อัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงแต่ผลที่ตามมาก็คือทำให้มุ่งแข่งขันหวังกำไรจนลืมความมีมนุษยธรรมหรือความมีน้ำใจ
5. ผลกระทบต่อสุขภาพจิต
- การดำเนินชีวิตแบบเดิมเป็นแบบเรียบง่าย ต้องเปลี่ยนมาเป็นการปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันตลอดเวลาอาจจะเกิดความเครียด ความวิตกกังวล ไม่ว่าในหน้าที่การงานหรือการดำเนินชีวิตประจำตัวก็ตาม
- พฤติกรรมของเยาวชน การอยู่กับเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เยาวชนเกิดนิสัยก้าวร้าว ชอบการต่อสู้ การใช้กำลัง
- นักธุรกิจต้องทำงานแข่งกับเวลา พักผ่อนน้อยก็ก่อให้เกิดความเครียด สุขภาพจิตก็เสียตามไปด้วย
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. ข้อมูล Data
4. บุคลากร People
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน Programmer,System Analyst และ User เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ได้ออกแบบไว้ ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลและหน่วยเก็บข้อมูล
-หน่วยรับข้อมูลทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
-หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
-หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
-หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4. การจัดการข้อมูล ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อม
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การดูแลรักษา
เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นระบบการจัดการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก การแก้ไข การทำรายงาน งานบัญชี งานลงทะเบียน ระบบสารสนเทศจะช่วยให้องค์กรมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและยังช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจด้วย
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นระบบเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีประโยชน์ ดังนี้
2.1 สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเล็คทอร์นิกส์ (E-mail)
2.2 จัดเก็บข้อมูลไว้รวมในที่เดียวกัน ผู้อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
2.3 องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
2.4 สามารถทำงานร่วมกันได้หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบการทำงานที่ใช้ระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งมีผลทำให้
3.1 พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทางจดหมายอิเลคทรอนิกส์ (E - mail)
3.2 สามารถบันทึกแฟ้มเอกสารหรืองานพิมพ์เก็บไว้ และสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ง่าย
3.3 การออกแบบงานต่าง ๆ ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
3.4 มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
3.5 การประชุมทางไกล (Vedio Teleconference)
4. เทคโนโลยีช่วยสอน CAI ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้และมีผลดีกับนักเรียนที่จะได้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจมากขึ้น
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การนำมาประยุกต์ใช้งาน จะต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
2. การวางแผนที่ดี เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
3. มาตรฐานการใช้งาน ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ไม่ปล่อยปละละเลยหรือใช้ในทางที่ผิด
4. การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย หากประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะปรับแผนการเสียใหม่
5. การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน ควรมีการแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้การทำงานร่วมกัน มีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบ การใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้ใช้ภายในขอบเขตของแต่ละคน
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการ เปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ เช่นเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้นเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยี
นวัตกรรมทางการศึกษา ส่งผลใด ต่อการจัดการศึกษา
สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีการพัฒนาขึ้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการจัดการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. เกิดวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบหรือวิธีการใหม่ๆ
2. จะเกิดรูปแบบเทคนิควิธีการสอนใหม่ในแต่ละสาระวิชา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3. มีการพัฒนาสื่อประกอบการสอน หรือสื่อการสอนหลักใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. จะเกิดแนววิธีคิดในการออกแบบหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆ
6. มีรูปแบบการจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการศึกษา
ในอนาคตนวัตกรรมมีแนวโน้มว่า จะเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการจัดการศึกษา อันมีผลมาจากปัจจัยต่อไปนี้ (สมพร ชมอุตม์, 2532)
1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง
2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกม ซึ่งผสมผสานกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย
3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเรียนคอมพิวเตอร์ มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว
6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมี
นักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering) เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น
7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน
มูลเหตุสำคัญในการเกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย
ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู –อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น